ลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน ลิฟท์ขนของ ลิฟท์ส่งของ ต่างกันยังไง?

ทำความรู้กับกับลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน ลิฟท์ขนของ ลิฟท์ส่งของก่อนตัดสินใจใช้งาน

ใครว่าจะมีแต่ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารสูง ๆ เท่านั้นที่สามารถติดตั้งลิฟท์ได้ เพราะในปัจจุบันมีลิฟท์ในบ้าน(home lift) หลายแบบให้เลือกติดตั้งกันได้ตามสะดวก โดยประโยชน์ของการติดตั้งลิฟท์ในบ้าน (home lift) จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมไปถึงคนทั่วไปอย่างเรา ๆ ให้เหนื่อยน้อยลงได้และเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ JK ELEVATOR จะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับลิฟท์ว่ามีด้วยกันทั้งหมดกี่แบบ และลิฟท์แต่ละแบบอย่างไร อาจช่วยในการตัดสินใจก่อนเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ลิฟท์ในบ้าน (home lift) คืออะไร?

ก่อนที่เราจะไปพูดถึงประเภทและความแตกต่างในการใช้งานของลิฟท์แต่ละประเภท เรามาเริ่มต้นกันด้วยการทำความรู้จักกับลิฟท์ในบ้าน (home lift) ให้กระจ่างกันเสียก่อน โดยลิฟท์ในบ้าน (home lift) ก็เหมือนกับลิฟท์ทั่ว ๆ ไปที่เราเคยเห็นกัน เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า เคลื่อนที่ได้ช้ากว่าและถูกออกแบบมาให้ใช้ภายในบ้านโดยเฉพาะ กล่าวคือเราไม่จำเป็นต้องสร้างบ่อ หรือห้องเครื่องเพื่อขับเคลื่อนลิฟท์ให้ทำงานเหมือนกับลิฟท์โดยสารในห้างสรรพสินค้า หรือตึกสูง ๆ ทั่วไปที่เราพบเห็น ในส่วนของราคาลิฟท์บ้าน เมื่อรวมเข้ากับค่าติดตั้งทั้งหมดแล้ว จะเริ่มต้นที่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับขนาด ระบบ และน้ำหนักที่ลิฟท์สามารถรองรับได้ รวมไปถึงบริษัทที่ทำการว่าจ้างให้ติดตั้งลิฟท์ด้วย โดยลิฟท์ในบ้าน (home lift) จะสามารถติดตั้งได้ทั้งหมด 3 ระบบ ดังนี้

  1. ลิฟท์ในบ้าน ระบบไฮดรอลิก (Hydraulic Lift): ลิฟท์ในบ้าน (home lift) ระบบนี้จะขับเคลื่อนลิฟท์โดยสารแบบ Full Cabin ด้วยการใช้แรงดันจากการปั๊มของกระบอกไฮดรอลิกโดยตรง ซึ่งเราสามารถเรียกกระบวนการนี้ได้ว่า Direct Drive Hydraulic เหมาะสำหรับบ้านที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น หรือประมาณ 23 เมตร แต่การจะทำให้ระบบนี้ทำงานได้ จำเป็นต้องเปิดมอเตอร์ให้ทำงานตลอดเวลา จึงค่อนข้างกินไฟกว่าระบบอื่น
  2. ลิฟท์ในบ้าน ระบบสกรู (Screw Driven Platform Lift): ลิฟท์ในบ้าน (home lift)ที่ใช้ระบบนี้ จะมีลักษณะเป็นแพลตฟอร์มโล่ง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ Screw Driven ที่ใช้แรงบิดของ Lead Screw ในการทำให้ลิฟท์สามารถเคลื่อนที่ขึ้น – ลงได้ เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่จำกัดและสูงไม่เกิน 4 ชั้น หรือประมาณ 15 เมตร ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อนและกินไฟน้อยกว่าระบบไฮดรอลิก
  3. ลิฟท์ในบ้าน ระบบสลิง (MRL Brushless Home Lift): ลิฟท์ในบ้าน (home lift) ระบบนี้เป็นระบบที่เรียบง่ายที่สุด กินไฟน้อยที่สุดและมีราคาถูกที่สุดด้วย โดยลิฟท์ในบ้าน (home lift) ระบบนี้จะใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวชักรอกลิฟท์ให้เคลื่อนที่ขึ้น – ลง ไม่จำเป็นต้องมีบ่อลึก หรือพื้นที่สำหรับห้องเครื่อง เพราะใช้เพียงแผงคอนโทรลกับมอเตอร์เท่านั้น จึงสามารถวางบนพื้นบ้านโดยตรงได้ เหมาะสำหรับบ้านที่สูงไม่เกิน 6 ชั้น หรือมีความสูงประมาณ 24 เมตร

ลิฟท์ในบ้าน (home lift) แตกต่างจากลิฟท์ประเภทอื่นอย่างไร?

มาถึงคำถามที่หลายคนสงสัย ว่าลิฟท์ในบ้านแตกต่างจากลิฟท์แบบอื่นอย่างไร? ซึ่งลิฟท์ประเภทอื่น ๆ ที่ว่านี้ ก็คือ ลิฟท์โดยสารทั่วไป ลิฟท์ขนของ และลิฟท์ส่งอาหาร ความจริงแล้วต้องบอกเลยว่าความแตกต่างของลิฟท์ทั้งสามแบบขึ้นอยู่กับหน้าที่การใช้งาน ขนาด ความเร็ว รวมไปถึงวิธีการติดตั้ง ซึ่งเราจะมาอธิบายรายละเอียดของลิฟท์แต่ละแบบให้ฟัง จะได้มองเห็นภาพความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น

      1. ลิฟท์โดยสารทั่วไป VS ลิฟต์บ้าน
        สำหรับลิฟท์โดยสารทั่วไปนั้นจะมีหน้าที่การใช้งานเหมือนกับลิฟต์บ้านเลย นั่นก็คือสามารถขนส่งคนและขนของ (น้ำหนักไม่มาก) ขึ้นไปตามชั้นต่าง ๆ ของอาคารได้ แต่ความแตกต่างคือ ลิฟท์โดยสารจะมีความเร็วสูงกว่าและมีขนาดใหญ่มากกว่าลิฟต์บ้าน รวมถึงระบบการติดตั้งก็ใหญ่กว่าและต้องใช้พื้นที่มากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงได้แบบไม่จำกัดจำนวนชั้น แตกต่างกับลิฟต์บ้านที่จำกัดอยู่ที่ 6 ชั้นเท่านั้น ลิฟท์โดยสารเลยเหมาะกับอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า หรือตึกสูง ๆ

        ประเภทของลิฟท์โดยสาร ได้แก่

        • ลิฟท์โดยสารแบบมีห้องเครื่อง (Traction Elevator)
          ลิฟท์โดยสารแบบนี้จะเหมาะกับอาคารที่มีพื้นที่กว้างพอที่จะติดตั้งเครื่องลิฟท์ได้ โดยจะติดตั้งห้องเครื่องไว้ที่ชั้นบนสุดของอาคารและแบบต่อมาคือแบบไม่มีห้องเครื่อง (Room less Elevator) จะเหมาะกับอาคารที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งลิฟท์ เช่น อาคารสูงที่มาคิดติดตั้งลิฟท์ในภายหลัง แต่ไม่ได้เผื่อที่ไว้ติดตั้งลิฟท์ ก็สามารถเลือกลิฟท์โดยสารแบบนี้แทนได้ ในส่วนของความเร็ว ลิฟท์โดยสารทั่วไปจะเริ่มต้นที่ 60 เมตร/นาที และเร็วได้สูงสุดไม่เกิน 120 เมตร/นาที
      2. ลิฟท์ขนของ VS ลิฟต์บ้าน
        ความแตกต่างของลิฟท์ทั้งสองประเภทนี้ แตกต่างกันตั้งแต่หน้าที่การใช้งานเลย เพราะลิฟต์บ้านมีไว้เพื่อขนส่งคนจำนวนไม่มาก แต่ลิฟท์ขนของมีไว้เพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของจำนวนมาก เลยสามารถกำหนดน้ำหนักได้เลยว่าอยากให้ทุกหนักได้เท่าไรและอยากได้ขนาดไหนก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ด้วยเหตุนี้ลิฟท์ขนของจึงมักติดตั้งไว้ในโกดังเก็บสินค้าขนาดใหญ่ หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเป็นเครื่องทุ่นแรงให้กับคนงานในการเคลื่อนย้ายสินค้าให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังป้องกันความเสียหายระหว่างขนย้ายสิ่งของได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามด้วยขนาดที่ใหญ่และน้ำหนักในการบรรทุกที่มาก จึงทำให้ลิฟท์ขนของเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าลิฟต์บ้านและลิฟท์ประเภทอื่น ๆ พอสมควรและไม่สามารถเคลื่อนที่สูงเกิน 3 ชั้นได้
      3. ลิฟท์ส่งอาหาร VS ลิฟต์บ้าน
        สำหรับคู่นี้บอกได้เลยว่าแตกต่างมาก ๆ เพราะลิฟท์ส่งอาหารนั้นเป็นลิฟท์ที่มีขนาดเล็กมากที่สุดในหมู่ลิฟท์ทั้งหมด และสามารถทุกน้ำหนักได้ไม่เกิน 500 กิโลกรัม แต่ถึงจะทุกน้ำหนักได้มากกว่าน้ำหนักมนุษย์ แต่ก็ไม่สามารถขนส่งคนได้อย่างแน่นอน เพราะเล็กเกินไป ซึ่งแตกต่างจากลิฟต์บ้านอย่างสิ้นเชิง โดยสิ่งที่ลิฟท์ส่งอาหารสามารถทำได้ ก็คือการขนส่งอาหาร ขนส่งเอกสาร จึงมักติดตั้งไว้ในร้านอาหาร โรงแรม ห้องสมุดและโรงพยาบาล เป็นต้น ในส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่จะอยู่ที่ 15 – 45 เมตร/นาที
        เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลของลิฟท์ในบ้านที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ พอเปรียบเทียบกับลิฟท์ประเภทอื่น ๆ อย่างลิฟท์ในบ้าน (home lift) ลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ขนของและลิฟท์ส่งอาหารแล้ว ก็คงจะเห็นภาพความแตกต่างและหน้าที่การใช้งานกันได้ชัดเจนเลยทีเดียว ซึ่งถ้าใครอ่านแล้วสนใจอยากติดตั้งลิฟท์บ้าน ราคาคุ้มค่า ที่บริษัท เจเค คอนซัลท์เซอร์วิส ซีสเต็ม จํากัด พวกเรามีทีมงานมืออาชีพคอยดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการจำหน่าย การติดตั้งและการซ่อมลิฟท์ ไม่ต้องกลัวจะถูกทิ้งไว้กลางทางหากเกิดปัญหา


สนใจติดตั้งลิฟท์โดยสาร ลิฟท์ในบ้าน ลิฟท์ขนของ ลิฟท์ส่งของ พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษได้ที่

โทรศัพท์ : 02-9489112, 081-644-6198, 094-665-6495, 089-785-5557
LINE : https://line.me/ti/p/~0816446198
E-mail : ittikorn.jkelevator@gmail.com
E-mail : natchuda.jkelevator@gmail.com